ตามที่ผู้บริหารไปเจรจาความร่วมมือทางวิชาการกับ National Chung Hsing University (NCHU) และ National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ระหว่างวันที่ 4-12 มีนาคม 2566 และทั้งสองสถาบันยินดีที่จะรับบุคลากรของคณะฯ ไปอบรม และศึกษาดูงาน โดยศึกษาดูงานทางด้านสัตวศาสตร์ (เน้นการผลิตไก่) ณ NCHU และทางด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทรัพยากรประมง และการทำเกษตรอัจฉริยะ ณ NPUST เพื่อนำความรู้หรือแนวคิดหรือต้นแบบมาปรับใช้ในการทำงานของสาขาวิชาทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินงานวิจัย ตลอดจนเพื่อพัฒนาการดำเนินโครงการวิจัยร่วมกันในอนาคต           

            ในการเดินทางไปศึกษาดูงานครั้งนี้ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ได้ส่งอาจารย์และบุคลากรสายอำนวยการ เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จำนวน 6 ราย ระหว่างวันที่ 1-9 มิถุนายน 2567 ดังนี้

           - ผศ. ดร. กอบชัย วรพิมพงษ์ สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ
           - นายธัชวีร์ ขวัญแก้ว สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ
           - ดร. นัทท์ นันทพงศ์ สาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
           - นายพรัตน์ แท่นมาก สาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
           - ดร. ศุภนนท์ ตู้นิ่ม สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์และการจัดการ
           - นายศยาม ขุนชำนาญ สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์และการจัดการ

ท่านสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรม ได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/profile.php?id=100063582817217

        ในช่วงเช้าวันที่ 3 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.กอบชัย วรพิมพงษ์ พร้อมด้วย นายธัชวีร์ ขวัญแก้ว สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ เดินทางถึง ณ National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเยี่ยมชมบริษัท Sunsing เขต Chiayi county โดย Prof. Tsai เป็นผู้นำการเยี่ยมชม Sunsing ประกอบธุรกิจผลิตผัก Hydroponic ที่ผ่านมาตรฐาน Global GAP มียอดขายหลายร้อยล้าน TWN ต่อปี โดยผลิตตามคำสั่งซื้อจากตลาดล่วงหน้า 1-2 ปี โดยผักสลัดที่เห็นในการเยี่ยมชมเป็นผักสลัดที่มีคำสั่งซื้อมาตั้งแต่ปี 2566 เทคโนโลยีที่สำคัญของบริษัทการเกษตรแห่งนี้คือ โรงเรือนอัจฉริยะที่ทันสมัย (Smart farming) ควบคุมด้วยระบบ AI ในการสั่งการควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือน อาทิ อุณหภูมิ แสง อุปกรณ์ชดเชยค่าความเข้มของแสงตามฤดูกาล ของความชื้นสัมผัส อุณภูมิของน้ำที่ใช้ละลายปุ๋ย ค่าการนำไฟฟ้า (EC) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผักเติบโตได้เร็วที่สุด และมีรสชาติคงที่สม่ำเสมอทุกรอบการผลิต ปัจจุบันทางบริษัท Sunsing กำลังลงทุนโรงเรือนแห่งใหม่ที่มีระบบอัจฉริยะที่ทันสมัยกว่าเดิมด้วยเงินลงทุนกว่า 1,500 ล้าน TWN สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้กว่า 10 เท่า ลดกำลังคนและลดอัตราการสูญเสียด้วยระบบแขนหุ่นยนต์ (Automation) รวมใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีคาร์บอนในอนาคตอันใกล้

         และในช่วงบ่าย เยี่ยมชมบริษัท Symom เมือง Tainan โดย Prof. Tsai เป็นผู้นำการเยี่ยมชม Symom ประกอบธุรกิจผลิตกล้วยไม้ตัดดอก ส่งขายในประเทศไต้หวันและส่งออกไปยังต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น แคนนาดา ออสเตรเลีย โดยใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart farming) ควบคุมด้วยระบบ AI ในการสั่งการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกที่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ได้แก่ การกระตุ้นให้ติดตาดอกด้วยการคุมคุมแสงและอุณหภูมิ การปรับระดับอุณภูมิในแต่ละระยะของการออกดอก เพื่อให้ได้ขนาดดอกที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้เทคโนโลยีสำคัญของ Symom ที่ช่วยในการผลิตคือระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Automation robotic) เพื่อการขนย้ายกล้วยไม้ในระยะต่าง ๆ เพื่อลดกำลังคน ลดโอกาสการติดเชื้อโรคพืชที่มีคนเป็นพาหะ เช่น ไวรัสที่ทำลายใบ และระบบ Plant factory ที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิต จากการบูรณาการเทคโนโลยีที่กล่าวมาสามารถช่วยให้เพิ่มรอบการผลิตกล้วยไม้จากเดิมปีละ 1 รอบ เป็น 2 รอบ/ปี นอกจากนี้ทาง Symom ยังมีเทคโนโลยีการย้อมสีดอกกล้วยไม้ให้มีสีสันต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ 

วันที่ 3 มิถุนายน 2567 ดร.ศุภนนท์ ตู้นิ่ม และนายศยาม ขุนชำนาญ สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์และการจัดการ เข้าพบ Prof. Chih-Feng Chen คณบดี College of Agriculture and Natural Resource และ Prof. Shaw-Yhi Hwang รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ ณ National Chung Hsing University (NCHU) เพื่อหารือทางด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัย และเยี่ยมชม NCHU Mart และ ห้องปฎิบัติการและฟาร์มสาธิตของ Department of Animal Science เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติการฟาร์ม

วันที่ 4 มิ.ย. 67 – ศึกษาดูงาน ณ บริษัท Leadray ซึ่งเป็นธุรกิจไก่พื้นเมืองครบวงจร มีการเพาะพ่อแม่พันธุ์ และ โรงฟักไก่พื้นเมือง ระบบฟักไข่แบบอัติโนมัติทั้งหมด

วันที่ 5 มิ.ย. 67 – เยี่ยมชม บริษัท Fang Yuan จังหวัด Yunlin ซึ่งเป็นธุรกิจเป็ดโป๊ยฉ่าย (พันธุ์ผสมระหว่างเป็ดเทศและเป็ดบ้าน) และการเลี้ยงห่านครบวงจร ใช้ระบบ Smart Farm ที่ควบคุมระบบโรงเรือนทั้งหมดด้วย IOT ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยควบคุมระบบไฟฟ้า การให้อาหาร พัดลมระบายอากาศ การทำงานของปั๊มน้ำ Cooling pad ระบบแสงสว่าง ฯลฯ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนการประเมินพันธุกรรมด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) ร่วมกันอีกด้วย

วันที่ 3 มิ.ย. 2567 ดร. นัทท์ นันทพงศ์ พร้อมด้วยนายนพรัตน์ แท่นมาก สาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ เข้าพบคณบดี และผู้เชี่ยวชาญชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จาก National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ต่อจากนั้น Prof. Lin พาเยี่ยมชมห้องแลปอาหาร และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การในงานวิจัยที่กำลังดำเนินการ รวมทั้งการเแลกเปลี่ยนนักศึกษาร่วมกันระหว่างสองสถาบัน

วันที่ 4 มิ.ย. 2567 ดร.นัทท์ นันทพงศ์และนายนพรัตน์ แท่นมาก ได้ศึกษาดูงานโรงผลิตอาหาร Aquafeed Practice Factory โดยมีวิทยากรคือ Asst. Prof. Dr. Hsin-Wei Kuo และดูขั้นตอนการผลิตอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ ขั้นตอนการผสม การอัดเม็ด และการทำแห้ง ตลอดการผลิตอาหารรูปแบบต่าง ๆ เช่น อาหาร Super Micro, Micro, Pellet, Granule และเข้าเยี่ยมชมระบบทดลองของ Dr. Kuo ที่เน้นการวิจัยในกุ้งทะเล

จากนั้นเดินทางไปศึกษาดูงาน ที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ Department of Aquaculture ซึ่งประกอบด้วย การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ได้แก่ กุ้งก้ามกราม กุ้งขาว ปลากะพงขาว ปลานิล ปลากะพงดำปากกว้าง รวมทั้งดูงานด้านนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำในโรงเรือนแบบควบคุมอุณหภูมิโดยใช้เซนเซอร์ควบคุมอุณหภูมิในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงอุณภูมิภายในโรงเรือนแบบอัตโนมัติ ซึ่งโรงเรือนและฟาร์มแห่งนี้เน้นผลิตกุ้งก้ามกรามแบบครบวงจรตั้งแต่ลูกพันธุ์จนกระทั่งจับขาย โดยผลผลิตกุ้งก้ามกรามมากกว่า 90% ของทั้งไต้หวันมาจาก Pintung โรงเรือนได้มีการนำ solar cell มาใช้งานเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับระบบจากนั้นศึกษาระบบการเลี้ยงในบ่อดินมีระบบควบคุมปริมาณออกซิเจนแบบแม่นยำ โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของเซนเซอร์และเครื่องตีน้ำ มีการใช้กล้องเพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต และมีการควบคุมการเติมน้ำในบ่อดินแบบอัตโนมัติ