คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการขับเคลื่อนงาน อววน. สู่การพัฒนาจังหวัดปัตตานี

กระทรวง อว. จัดเวทีเสวนา และนิทรรศการงานวิจัย

รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการขับเคลื่อนงาน อววน. สู่การพัฒนาจังหวัดปัตตานี จัดโดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ห้องประชุมปริชญากร ชั้น 4 อาคารสำนักงานวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายในงานมีการจัดเวทีเสวนา เรื่อง “มีงาน มีทุน”ภายใต้หัวข้อ แรงงานที่ต้องการ หรืออาชีพในอนาคตของจังหวัดปัตตานี และแนะนําแหล่งทุนของ อว. โดย แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร ม.อ.ปัตตานี ผู้บริหารส่วนงานสำนักปลัดกระทรวง อว. ผู้บริหารหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัย (PMU) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้ง 3 จังหวัด นายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการ คณะนักวิจัยและภาคีเครือข่ายงานวิจัย ตัวแทนชุมชน ตัวแทนภาคประชาสังคม เข้าร่วมรับฟังเวทีเสวนาฯ

มีการจัดนิทรรศการภายในกิจกรรม ประกอบด้วย โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้ชายแดน การทำ Patchwork แก้ปัญหาขยะเศษผ้า การเพิ่มมูลค่าโกโก้และเศษเหลือทิ้งจากโกโก้ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของเนื้อแพะชายแดนใต้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันสมุนไพร ผลหันบุญญาเฮิร์บ สถาบันเรียนรู้ทักษะจากชุมชนชายแดนใต้ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (NIA) นิทรรศการ/ผลงาน จากเครือข่าย อว.ส่วนหน้าจังหวัด ปัตตานี ได้แก่ วิทยาลัยชุมชนปัตตานี , วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี , มหาวิทยาลัยฟาฏอนี , ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานจากสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลงานจากโรงงานสเตอริไลส์อาหาร คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี นอกจากนั้นได้รับชมบูธนิทรรศการ สินค้าเอกลักษณ์จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชุมชนดงต้นหยี

อำเภอยะรัง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตาลโตนดตำบลจะรัง ไก่เบตงเชิงพาณิชย์ครบวงจร กลุ่มอามีนฟาร์ม กลุ่มลัดดามินิฟาร์ม ไก่เบตง วิสาหกรรมชุมชนเกษตรกรราวอ ข้าวพื้นเมือง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทรายขาวส้มแขก และผลิตภัณฑ์ผ้าลายอัตลักษณ์ท้องถิ่นปัตตานี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแบแป ปะกาฮารัง (ข้าวพอง) ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เช่น กล่องใส่ทุเรียนไร้กลิ่น และบูธทุนการศึกษากองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน (กสค.) นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา ตลอดจนบูธ ทุนการศึกษากองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กขค.) นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา และโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ม.อ.ปัตตานีและมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาอีกด้วย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567

ขอขอบคุณภาพจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ภาพเพิ่มเติม

Scroll to Top