ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้การคัดเลือกจีโนมในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ

เช้านี้ (เสาร์19 ตุลาคม 2567) รศ.ดร. ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้การคัดเลือกจีโนมในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ อยู่ภายใต้ โครงการ “ศูนย์กลางความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรสมัยใหม่ สำหรับผลผลิตการเกษตรมูลค่าสูง ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. เป็นเครือข่าย และดร.พิชญานิภา พงษ์พานิช เป็นหัวหน้ากิจกรรม
โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

  1. ส่งมอบองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) จากผลงานวิจัย สู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาคผลิต เกษตรกรรม ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุดมศึกษา เพื่อยกระดับผลผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง
  2. พัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของประเทศ (train the trainer) ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ ให้มีทักษะ เทคนิค ความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ เพื่อเป็นต้นแบบในการต่อยอด ขยายผลการใช้ประโยชน์
  3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในทุกภาคส่วน เพื่อขยายผลการใช้ความรู้ การใช้ประโยชน์ จาก วทน. สู่การยกระดับผลผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง
    การฝึกอบรมประกอบด้วยภาคบรรยาย และอบรมเชิงปฎิบัติการ จำนวน 2 วัน โดยในวันแรก เป็นการบรรยายด้านการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์แพะ และการบรรยายและภาคปฏิบัติด้านประเมินพันธุกรรมสัตว์เบื้องต้น และในวันที่ 2 เป็นการบรรยายและปฏิบัติเรื่องการคัดเลือกสัตว์โดยใช้ข้อมูลจีโนม
    ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นบุคลากรจากหน่ายงานกรมปศุสัตว์ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ จำนวน 23 ท่าน ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาม 2567 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ภาพเพิ่มเติม

Scroll to Top