ศูนย์จัดการผลประโยชน์ทางวิชาการ
กลุ่มงานจัดการผลประโยชน์ทางวิชาการฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งคณะทรัพยากรธรรมชาติ ที่ 61/2544 สั่ง ณ วันที่ 28 กันยายน 2544 โดยให้จัดตั้ง “งานหารายได้และทรัพย์สิน” สังกัดสำนักงานเลขานุการคณะฯ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนที่เกียวข้องกับการหารายได้และทรัพย์สิน ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันงานหารายได้และทรัพย์สินได้เปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มงานจัดการผลประโยชน์ทางวิชาการ สังกัดฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ตาม มติที่ประชุมกรรมการประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ ครั้งพิเศษที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 โดยแบ่งโครงสร้างของกลุ่มงานเป็น 5 งานดังนี้
- งานตลาดนัดเกษตร
- งานตลาดพันธ์ุพืช พันธุ์สัตว์
- งานตลาดผลิตภัณฑ์เกษตร
- งานจัดการผลประโยชน์เกษตรภาคใต้
- งานบ่มเพาะนักศึกษาและบัณฑิต
ในปัจจุบันการดำเนินงานตามโครงสร้างดังกล่าวยังไม่ได้แบ่งแต่ละงานอย่างชัดเจน การปฏิบัติงานยังคงรวมศูนย์กลางในการดำเนินงานทุกงานร่วมกัน
นำผลงานทางวิชาการมาจัดการให้เพิ่มมูลค่าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นที่พึ่งของชุมชนในการกระจายผลผลิตทางการเกษตร ที่มีคุณภาพ
- เป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของคณะทรัพยากรธรรมชาติ ในด้านการประสานงานในการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตที่ได้จากการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ
- เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานในด้านการจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สิน และกิจกรรมประโยชน์ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
- เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและให้บริการด้านวิชาการในด้านการเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายผลผลิตเกษตร และวิสาหกิจชุมชน ที่มีคุณภาพ
- เพื่อรองรับนโยบายของคณะทรัพยากรธรรมชาติในด้านการบริหารจัดการผลประโยชน์ทางวิชาการ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันเป็นการรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอนาคต
- เพื่อทำหน้าที่ประสานด้านการจัดการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตที่ได้จากการเรียนการสอน การวิจัย
- เพื่อทำหน้าที่จัดหาและจัดการด้านธุรกิจในด้านการแสวงหาทุนและทรัพยากร ที่จำเป็นต่าง ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินการของคณะทรัพยากรธรรมชาติในด้านงบประมาณ
- สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และวิสาหกิจชุมชน ที่มีคุณภาพ ของชุมชน
- วรภัทร ไผ่แก้ว
- อิสเรจ บุญมณี
- นพรัตน์ ตรงจิตต์
- เมวิกา กัลยาณีย์
- อนุสรา สาระจันทร์
โครงการธุรกิจเกษตรชุมชน
เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ ที่จำหน่ายสินค้าอยู่ในตลาดเกษตร ม.อ. และคณะทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินกิจกรรมทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษบนพื้นที่ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยทำการปลูกครั้งแรกเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2558 เป็นการปลูกเพื่อจัดแสดงในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 9-18 สิงหาคม 2558 และงานเกษตรภาคใต้ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 12-21 สิงหาคม 2559 การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการรวบรวมความรู้จากเกษตรกรผู้มีประสบการณ์และจากนักวิชาการทางการเกษตรคณะทรัพยากรธรรมชาติ สาธิตและถ่ายทอดวิธีการปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ การใช้กรรมวิธีทางธรรมชาติในการจัดการศัตรูพืช เช่น การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมเชื้อรา การใช้เชื้อราบิวเวอเรีย,สารสกัดจากสะเดา,น้ำส้มควันไม้ และการปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ ตัวห้ำ ตัวเบียน เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช