About Us /

สถานีวิจัยเทพา

ประวัติความเป็นมา

สถานที่ตั้ง

สถานีวิจัยเทพา ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 5 ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ระยะทางจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ถึงสถานีฯ ประมาณ 90 กม. เป็นสถานีวิจัย ลำดับที่ 3 ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 มีพื้นที่ทั้งหมด 880 ไร่ สภาพพื้นที่ เป็นที่ราบลุ่ม และเป็นทางผ่านของน้ำทำให้น้ำท่วมในฤดูฝนทุกปี ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปีมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนา สนับสนุน และเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับงานด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการฝึกงานนักศึกษาทางด้านไม้ยืนต้นและไม้ผล
2. เป็นสถานที่ศึกษา อบรม ดูงาน และบริการชุมชน

สภาพพื้นที่

สถานีวิจัยฯ มีพื้นที่ทั้งหมด 880 ไร่ แบ่งพื้นที่การใช้ประโยชน์ ดังนี้

1. ยางพารา/เรือนเพาะชำ/กิจกรรมยางพารา 442 ไร่
2. ปาล์มน้ำมัน 90 ไร่
3. ไม้ผล 70 ไร่
4. มะพร้าว 25 ไร่
5. หมู่บ้านจัดสรรให้เกษตรกรเช่า 80 ไร่ (ตามข้อตกลงกับชุมชนในการขอใช้พื้นที่)
6. พื้นที่ทำการ/อาคาร/บ้านพัก/ถนนในฟาร์ม 80 ไร่
7. ป่าใช้สอยและแนวเขตกันชนเขตแดน 57.5 ไร่
8. แหล่งน้ำ 10 ไร่
9. ป่ายางพาราดั้งเดิม 13 ไร่
10.วนเกษตร 12.5 ไร่

จุดเด่นของสถานี

- ด้านยางพารา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกงาน และเป็นแหล่งรวบรวมยางพาราพันธุ์พื้นเมืองแหล่งวิจัยด้านยางพารา
- ด้านไม้ผลผสมผสานเชิงวนเกษตร เช่น ลองกอง มังคุด เงาะ ทุเรียน ส้มโอ ลำไย มะพร้าว เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัย ด้านไม้ผล