Document

ปณิธาน

ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง "Our Soul is for the Benefit of Mankind"

วิสัยทัศน์ (VISION)

เป็นคณะชั้นนำ* ของประเทศในการผลิตและพัฒนากำลังคน องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๖๘
*ชั้นนำ คือ รวบรวมศาสตร์ทางด้านการเกษตร (สัตว์ พืช สัตว์น้ำ) และการจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พันธกิจ (MISSION)

  1. ผลิตบัณฑิตทางด้านการเกษตรและการจัดการที่มีความขยัน ซื่อสัตย์ และสามารถเป็นผู้ประกอบการได้
  2. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และมีศักยภาพในภาคใต้ เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เผยแพร่องค์ความรู้ บริการวิชาการ สู่สังคม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของชุมชน ในระดับชาติและนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และเป้าประสงค์ (Strategies, Strategic Objectives and Goals)

เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ในปีการศึกษา ๒๕๖๘ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ได้กำหนดประเด็นยุทศาสตร์ไว้ ๓ ประเด็น ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ผลิตและพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัย เพื่อความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเกษตรยุคใหม่อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการองค์กรที่ทันสมัย

ค่านิยม (Core Value)

“Smart Work” (ทำงานอย่างชาญฉลาด) ประกอบด้วย

S = Sustainability (ความยั่งยืน)
M = Management (การบริหารจัดการ)
A = Accuracy (ความถูกต้อง)
R = Reality (ปฏิบัติได้จริง)
T = Team work (การทำงานเป็นทีม)

สมรรถนะหลัก (Core Competency, CC)

      มีความเชี่ยวชาญด้านระบบเกษตรอย่างยั่งยืน (CC๑) พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน (CC๒) และสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ เช่น แพะ ไก่เบตง ปูทะเล สาหร่ายทะเล ปลากะพง ปลาสวยงาม ปลาพลวงชมพู (CC๓) และการให้บริการตลาดเกษตร ม.อ. และงานเกษตรภาคใต้ (CC๔)

วัฒนธรรมของสถาบัน (Cultural Organization)

ขยัน ซื่อสัตย์ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ประวัติ

           คณะทรัพยากรธรรมชาติ (Faculty of Natural Resources) ได้รับการจัดตั้งและประกาศใน หนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 217 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2518 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจือ สุทธิวนิช เป็นคณบดีคนแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติงานวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้านการเกษตร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่สามารถฟื้นฟูได้ เช่น ทรัพยากรเกษตร ประมง ดิน น้ำ ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ผ่าน 3 กระบวนการหลัก คือ

  1. การเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิทยาศาสตร์ของการจัดการทรัพยากรในการผลิตอย่างยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
  2. การวิจัยเพื่อคิดค้นและพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาระบบ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนาการผลิตทางการเกษตรและจัดการทรัพยากรทั้งในเชิงอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ตลอดจนแก้ไขปัญหาของชุมชน
  3. การบริการวิชาการเพื่อนำความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยเผยแพร่สู่สังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ

           คณะทรัพยากรธรรมชาติรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2520 จำนวน 60 คน ในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ และพัฒนาการเกษตร และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อุตสาหกรรมเกษตร) และเริ่มรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาในปี 2530 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร และสาขาวิชาพืชศาสตร์ และเริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ ปี 2543 สาขาวิชาวาริชศาสตร์ ปี2547 สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน ปี 2550 และสาขาวิชาการผลิต เทคโนโลยีและการจัดการยางธรรมชาติ (นานาชาติ) ปี 2557 (ยกเลิกหลักสูตร ปีการศึกษา 2563)

ปัจจุบันคณะทรัพยากรธรรมชาติ มี 3 กลุ่มงาน ดังนี้

  1. กลุ่มงานวิชาการ
    • สาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ
      • วิชาเอกการจัดการศัตรูพืช
      • วิชาเอกปฐพีศาสตร์
      • วิชาเอกพัฒนาการเกษตร
      • วิชาเอกพืชศาสตร์
        • สถานีวิจัยพืชศาสตร์
      • หลักสูตร ปร.ด. การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน
    • สาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์และการจัดการ
      • สถานีปฏิบัติการสัตวศาสตร์นาทวี
    • สาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
      • ศูนย์วิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ กิจการ ศุภมาตย์
      • สถานีวิจัยวาริชศาสตร์
  2. กลุ่มงานวิจัย นวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม
    • ศูนย์จัดการผลประโยชน์ทางวิชาการ
    • ศูนย์บริการวิชาการทางการเกษตรและทรัพยากรธรรชาติ
    • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์กลาง
    • ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้
    • ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน
    • ศูนย์วิจัยระบบเกษตรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
    • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน
    • ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก
    • ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ
    • สถานีวิจัยคลองหอยโข่ง
    • สถานีวิจัยท่าเชียด
    • สถานีวิจัยเทพา
    • สาขาความเป็นเลิศการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
  3. กลุ่มงานบริหารคณะ
    • งานนโยบายและแผน
    • งานประกันคุณภาพ
    • งานเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
    • งานวิเทศสัมพันธ์
    • งานคลัง
    • งานพัสดุ
    • งานทะเบียนและประเมินผลการศึกษา (ปริญญาตรี)
    • งานทะเบียนและประเมินผลการศึกษา (บัณฑิตศึกษา)
    • งานกิจการนักศึกษา
    • งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ
    • งานการเจ้าหน้าที่
    • งานสารบรรณ

หลักสูตร

หลักสูตรและสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะทรัพยากรธรรมชาติที่เปิดสอนในปัจจุบัน ดังนี้

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 หลักสูตร คือ

  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) 4 วิชาเอก คือ
    • วิชาเอกพืชศาสตร์
    • วิชาเอกพัฒนาการเกษตร
    • วิชาเอกการจัดการศัตรูพืช
    • วิชาเอกปฐพีศาสตร์
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์)
    • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ)
    • สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (วาริชศาสตร์)
    • สาขาวิชาวาริชศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาโท : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 7 หลักสูตร คือ

  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชากีฏวิทยา
  • สาขาวิชาโรคพืชวิทยา
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรดิน
  • สาขาวิชาวาริชศาสตร์

หลักสูตรระดับปริญญาเอก : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต 3 หลักสูตร คือ

  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาวาริชศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน

ดอกไม้ประจำคณะ

ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ คือ ดอกมะลิ ชนิด "มะลิลา"

Document
Faculty of Natural Resources
Prince of Songkla University
Tel. 66 (0) 7428-6018 (ภายใน 6018-20)
Fax : 66 (0) 7428-6038
E-mail : natural-res@group.psu.ac.th
ข้อเสนอแนะ : yuwapha.k@psu.ac.th,terdpong.k@psu.ac.th
ปรับปรุงล่าสุด 19    เมษายน   2566